Posts

Showing posts from March, 2016

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนไทย(ส21102)

1.       1.         ปัจจัยทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่แวดล้อมแก่ตัวมนุษย์ ทำเลที่ตั้ง ดินแดนประเทศไทยตั้งอยู่กลางผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพื้นที่ตอนบนอยู่ในเขตแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ตอนล่างเป็นคาบสมุทรมีฝั่งทะเลสองด้านคือ ด้านทะเลอันดามันกับอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่กึ่งกลางอารยธรรมโบราณที่สำคัญ คืออารยธรรมอินเดียและจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโลกตั้งวันตก(อินเดีย อาหรับ เปอเซีย ยุโรป) กับ โลกตะงันออก(จีน เกาหลี ญี่ปุ่น) จึงส่งผล ให้ดินแดนนี้เป็นชุมทางการค้าและมีบทบาทเป็นพ่อค้าคนกลางในสมัยโบราณ 2.        ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็นภาคต่างๆดังนี้ ภาคเหนือ เป็นทิวเขาสลับที่ราบหุบเขาที่มีลำน้ำไหลผ่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูง ภาคกลาง และตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ภาคใต้ เป็นทิวเขามีที่ราบชายฝั่งทะเลทั้งสองด้านเป็นคาบสมุทร ลักษณะภูมิประเทศที่มีกลุ่มชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานกันมาก ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน ที่ราบชายฝั่งทะเลใกล้แหล่งน้ำจืด เพราะเหมาะแก่การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และ

การตั้งถื่นฐานในดินแดนไทย(ส21102)

การตั้งถิ่นฐาน หมายถึง การที่กลุ่มคนเข้ามาอยู่อาศัย และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมกันในบริเวณหนึ่ง จนเกิดเป็นชุมชนขึ้น การตั้งถื่นฐานชั่วคราว      จากหลักฐานโบราณคดี ทำใหสันนิษฐานได้ว่า มนุษย์ในยุคหินเก่าและหินกลาง มักอยู่ตามถ้ำและเพิงผาตามที่สูง อาจอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เมื่อบริเวณนั้นขาดแคลนอาหาร ก็จะอพยพไปที่อื่น จึงนับเป็นการตั้งถิ่นฐานชั่ววคราว การตั้งถิ่นฐานถาวร      หลังจากยุคหินใหม่เป็นต้นมา มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงเคลื่อนย้ายลงมาหาทำเลที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร เช่น ที่ราบเชิงเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝรั่งทะเล มีการสร้างบ้านเรือนและสร้างสิ่งที่เป็นปรโยชน์ร่วมกันในชุมชน เช่น บ่อน้ำ สถานที่ประกอบพิธีกรรม นับเป็นการตั้งถิ่นฐานแบบถาวร