Posts

Showing posts from 2017

อิทธิพลของลัทธิเต๋าและขงจื้อที่มีต่อชาวจีน

-จากการเชื่อเรื่องเทพเจ้าของทั้งสองศาสนา ทำให้ชาวจีนมีประเพณีการไหว้เจ้าในเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษจีน สาทจีน -จากการเชื่อเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษและการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ ทำให้ชาวจีนมีประเพณีการไหว้บรรพบุรุษในโอกาสต่างๆ เช่น การทำกงเต๊ก การเผากระดาษเงิน กระดาษทอง หรือเผา เงิน เสื้อผ้า ไปให้บรรพบุรุษ -จากความเชื่อเรื่องหยิน-หยาง ซึ่งเปรียบสตรีเป็นหยิน ความมืด พลังด้านลบ และเปรียบชายเป็นหยาง ความสว่าง พลังด้านบวก ทำให้สังคมมีการแบ่งแยกและไม่เท่าเทียมทางเพศสูงมาก และจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนจีนจะให้เกียรติชายมากกว่า -จากหลักคำสอนของขงจื้อ จะทำให้ชาวจีนมีวัฒนธรรมการเคารพผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีศักดิ์มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด 

ลัทธิชินโต

ความเชื่อ -พระจักรพรรดิ์คือ เทพ -เชื่อในธรรมชาติ เทพเจ้า วิญญาณ(ประตูวิญญาณ คือ โทริ) -เชื่อเรื่องโลกหน้า บาปบุญ -เชื่อเรื่องโชคลาง -เชื่อว่า ศพคคือสิ่งไม่บริสุทธิ์ จึงไม่ทำพิธีศพในศาลเจ้า แต่ไปทำแบบศาสนาพุทธ คำสอน -กล้าหาญ -ตำหนิความขลาด -ความจงรักภักดี -เคร่งครัดในความสะอาด -รังเกียจความชั่ว

ลัทธิขงจื้อ

ความเชื่อ -เชื่อในคุณธรรมความดี -เชื่อเรื่องเทพเจ้าและวิญญาณบรรพบบุรุษ -เชื่อเรื่องการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ -เชื่อเรื่องโชคลาง สี -ยกย่องคนมีการศึกษา(หลี่) คำสอน  (คล้าย ทิศ 6 ) -ความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ใหญ่-ผู้น้อย -ความสัมพันธ์ระหว่าง บิดามารดา-บุตร -ความสัมพันธ์ระหว่าง สามี-ภรรยา -ความสัมพันธ์ระหว่าง พี่-น้อง -ความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อน-เพื่อน

ลัทธิเต๋า (เน้นความเรียบง่าย ไม่วุ่นวาย)

ความเชื่อ -เชื่อเรื่องเทพเจ้าและวิญญาณบรรพบุรุษ -เชื่อเรื่องการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ -หยิน(ญ) หยาง(ช) -เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ -นับถือสิ่งยิ่งใหญ่ คือ เต๋า ฟ้า ดิน พระจักรพรรดิ์ คำสอน (คล้ายศีล 5 ) -กลมกลืนกับธรรมชาติ -ทำดี -ซื่อสัตย์ ยุติธรรม -ไม่มีอคติ

ความแตกต่างระหว่างศาสนา กับ ลัทธิ

ลัทธิ   (เน้นความเชื่อ) -ไม่มีศาสดา -มีตำรา ไม่มีคัมภีร์ -ไม่มีระเบียบแบบแผน -ไม่มีความเป็นสากล ศาสนา   (เน้นจริยธรรม) องค์ประกอบ   ศาสดา                คัมภีร์ หลักธรรม                 พิธีกรรม ศาสนสถาน ศาสนิกชน

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

ลักษณะคำประพันธ์ แบบกลอนบทละคร เรื่องย่อ อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง           ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตไปสู่ขอบุษบา แต่ได้รับการปฏิเสธจากท้าวดาหาจึงเตรียมจัดยกทัพไปตีเมืองดาหาโดยให้พระอนุชา ยกทัพมาช่วย ท้าวกะหมังกุหนิงให้วิหยาสะกำเป็นทัพหน้า พระอนุชาทั้งสองเป็นทัพหลัง          ฝ่ายท้าวดาหาได้ขอความช่วยเหลือไปยังท้าวกุเรปัน และท้าวกาหลัง และท้าวสิงหาส่าหรี ท้าวกุเรปันส่งราชสารฉบับหนึ่งส่งให้อิเหนายกทัพมาช่วยท้าดาหาทำศึก อีกฉบับส่งไปให้ระตูหมันหยาโดยตำหนินางจินตหราว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดศึกครั้งนี้ ระตูหมันหยารู้สึกผิดจึงเร่งให้อิเหนายกทัพไปเมืองดาหา ส่วนท้าวกาหลังให้ตำมะหงงกับดะหมังคุมทัพมาช่วย  ท้าวสิงหัดส่าหรีส่งสุหรานากงผู้เป็นโอรสมาช่วยรบ       เมื่อทะที่ช่วยเมืองดาหารบมาครบกันแล้ว  อิเหนามีบัญชาให้จักทัพรบกับท้าวกะหมังกุหนิง ครั้นทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน  สังคามาระตาเป็นคู่ต่อสู้กับวิหยาสะกำและสังหารวิหยาสะกำได้ ท้ากะหมังกุหนิงเห็นโอรสถูกสังหารตกจากม้าก็โกรธ ขับม้าไล่ล่าสังคามาระตา อิเหนาจึงเข้าสกัดและต่อสู้ ทั้งสองฝ่ายฝีมือเท่าเทียมกัน จนในที่สุดอิเหนาจึงใช้กริชสังหา

ภูมิปัญญาทางภาษา

ภูมิปัญญาทางภาษา ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจและควรถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ภูมิใจด้วย โดยเฉพาะภูมิปัญญาทางภาษาที่เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านเป็นความรู้ความสามารถของชาวบ้านที่สร้างขึ้นมาจากประสบการณ์ ซึ่งสืบทอดต่อกันหลายชั่วอายุคนสมควรที่จะได้รับการสืบสานไปยังคนรุ่นหลังต่อไป ความหมายของภูมิปัญญาทางภาษา หมายถึง ความฉลาดของบรรพบุรุษที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ประสบการณ์ไว้ในภาษาและวรรณกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการสั่งสอนให้ข้อคิด คติเตือนใจและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม ลักษณะของภูมิปัญญาทางภาษา 1. ศิลปะการใช้ถ้อยคำ มีลักษณะต่าง ๆ เช่น - ความสามารถในการสร้างคำ ภาษาไทยมีการคิดสร้างคำขึ้นใช้มากมาย เช่น คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม การเลียนเสียงธรรมชาติหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น - ความหลากหลายในถ้อยคำ สามารถเลือกใช้ได้หลายคำโดยไม่ซ้ำกันซึ่งคนไทยมีแนวคิด ในการนำคำที่คิดขึ้นมากมายนั้นมาจับกลุ่มใหม่ เรียกชื่อว่า คำพ้อง - การสัมผัสคล้องจอง คนไทยนิยมร้อยเรียงคำให้สัมผัสคล้องจองกันเพื่อจะได้จำง่าย - การเปลี่ยนแปลงคำ การยืมคำภาษาอื

การขยายพันธุ์พืช

การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง 2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก 3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล 4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้ 5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้ 1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์เพศปราศจากโรคและแมลง 2. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปโล่ยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว 3. เฉือนต้นตอเป็นรูปปากฉลาม 4. ประกบแผลต้นตอเข้ากับกิ่งพันธุ์ดี พันพลาสติกให้แน

ม.3 พระบรมราโชวาท

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์ เพื่อพระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์ คือ                พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์  (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ)                พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์         (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)                พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี)                พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช    (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช) เมื่อคราวที่เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ จึงทรงพระราชทานข้อคิด คำแนะนำสั่งสอนให้พระราชโอรสประพฤติปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ดังนี้              1. การไปเรียนในครั้งนี้ให้ตั้งใจไปเพื่อศึกษาวิชาความรู้อย่างเดียว ไม่ควรไปเปิดเผยหรืเผยแพร่เกียรติยศชื่อเสียง ไม่ควรประกาศตนว่าเป็นเจ้า เพราะการไว้ยศนั้นทำให้วางตนลำบาก จะต้องรักษายศศักดิ์ จึงควรประพฤติตนเยี่ยงสามัญชนทั่วไป               2. เงินที่ใช้สอยในการศึกษาเล่าเรียน เป็นเงินพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะว่าพระองค์มีพระราชโอรสมาก จึงทรงเห็นว่าการใช้เงินแผ่นดินในการส่งพระราชโอรสไปศึกษาเล่าเรียนจึงทำให้พ้นจากคำครหาทั้งปวงได้                3. ขอให้ตร