ภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจและควรถ่ายทอดให้ลูกหลานได้ภูมิใจด้วย
โดยเฉพาะภูมิปัญญาทางภาษาที่เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านเป็นความรู้ความสามารถของชาวบ้านที่สร้างขึ้นมาจากประสบการณ์
ซึ่งสืบทอดต่อกันหลายชั่วอายุคนสมควรที่จะได้รับการสืบสานไปยังคนรุ่นหลังต่อไป
ความหมายของภูมิปัญญาทางภาษา
หมายถึง
ความฉลาดของบรรพบุรุษที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความคิด
ประสบการณ์ไว้ในภาษาและวรรณกรรมต่าง ๆ
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการสั่งสอนให้ข้อคิด
คติเตือนใจและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม
ลักษณะของภูมิปัญญาทางภาษา
1. ศิลปะการใช้ถ้อยคำ
มีลักษณะต่าง ๆ เช่น
- ความสามารถในการสร้างคำ
ภาษาไทยมีการคิดสร้างคำขึ้นใช้มากมาย เช่น คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม
การเลียนเสียงธรรมชาติหรือสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
- ความหลากหลายในถ้อยคำ
สามารถเลือกใช้ได้หลายคำโดยไม่ซ้ำกันซึ่งคนไทยมีแนวคิด
ในการนำคำที่คิดขึ้นมากมายนั้นมาจับกลุ่มใหม่
เรียกชื่อว่า คำพ้อง
- การสัมผัสคล้องจอง
คนไทยนิยมร้อยเรียงคำให้สัมผัสคล้องจองกันเพื่อจะได้จำง่าย
- การเปลี่ยนแปลงคำ
การยืมคำภาษาอื่นมาใช้ในภาษาไทยจะเปลี่ยนแปลงให้สะดวกในการเขียนและการออกเสียง
- การพลิกแพลงคำ คำภาษาต่างประเทศบางคำออกเสียงยากจึงพลิกแพลงเพื่อให้สะดวกในการออกเสียง
-
การเรียงคำเพื่อให้ดูดีมีความไพเราะ
การเรียบเรียงคำให้โดดเด่นน่าสนใจในรูปของคำขวัญ คำคม คำพังเพย สำนวน สุภาษิต
เป็นต้น
- การผวนคำ
เป็นการนำคำมาสับที่สับเสียงเพื่อให้เกิดความหมายใหม่ หรืออาจไม่มีความหมาย
เลยแต่แสดงถึงความมีอารมณ์ขันและความสนุกสนานของคนไทยในการสร้างสรรค์คำใหม่เท่านั้น
2. ลักษณะเด่นทางภาษา
ภาษาไทยมีลักษณะที่แตกต่างจากภาษาอื่นหลายเรื่องดังนี้
- ภาษาไทยมีวรรณยุกต์
ทำให้คำคำเดียวสามารถเปลี่ยนวรรณยุกต์เพื่อเปลี่ยนความหมายได้
- ภาษาไทยมีลักษณะนาม
เพื่อบอกลักษณะของคำ ซึ่งเป็นความสามารถของคนไทยที่ช่างคิด
ประดิษฐ์ถ้อยคำขึ้นมาใช้
3.
ภูมิปัญญาไทยในบทประพันธ์ ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาไทยอันยอดเยี่ยมในการใช้ถ้อยคำ
นอกจากกวีจะเลือกสรรถ้อยคำที่มีความไพเราะลึกซึ้งกินใจแล้วยังได้สอดแทรกความรู้
ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและสภาพการดำเนินชีวิตไว้ด้วย
Comments
Post a Comment