ม.3 บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
ภาษาไทย(สอบกลางภาค)
บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
ประพันธ์โดย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ใช้พระนามแฝงว่า พระขรรค์เพชร
(พระนามแฝงของท่านมีมากมาย เช่น
บทละครพูด ทรงใช้
ศรีอยุธยา,พระขรรค์เพชร
บันเทิงคดี ทรงใช้
พันแหลม,รามจิตติ,นายแก้ว นายขวัญ)
ลักษณะคำประพันธ์
เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีลักษณะยาว ๑ องก์(ตอน)
ระยะเวลาในการแต่ง ราวปี พ.ศ.
๒๔๕๓-๒๔๖๘
คุณค่าของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
๑.ข้อคิดคติธรรม
ทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว
๒.ด้านความรู้
มาตราเงินไทยในสมัยนั้นมีหน่วยเป็นชั่งและบาท
รูปแบบของการเขียนบทละครพูด
การใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง
เทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่
๖ มีการถ่ายภาพ
๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน
การรดน้ำอวยพรและการให้ของรับไหว้
ค่านิยมให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย
สังคมไทยยกย่องคนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต
และไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์ ทำผิดกฎหมาย
ทำให้ทราบหน่วยเงินที่ใช้ในสมัยนั้น
๔.ด้านวรรณกรรม
มีการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ทำให้เห็นอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ เข้ามาใช้ในภาษาไทย
ภาษาเข้าใจง่าย
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจพฤติกรรมของตัวละครและเหตุการณ์ได้ชัดเจน
มีคำอุทานในบทสนทนา ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา น่าติดตาม
มีการใช้ภาษาพูดในยุคสมัยนั้น
ทำให้ได้รับความรู้เรื่องการใช้คำศัพท์ในยุคสมัยนั้น
*บละครพูดขนาดสั้น คือ
ใช้บทสนททนาในการดำเนินเรื่อง
ตัวละครน้อย
๒-๓ คน
มีฉากเดียว
แนวคิดแก่นของเรื่องมีแนวเดียว
Comments
Post a Comment