ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนไทย(ส21102)
1. 1.
ปัจจัยทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
ที่แวดล้อมแก่ตัวมนุษย์
ทำเลที่ตั้ง
ดินแดนประเทศไทยตั้งอยู่กลางผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยพื้นที่ตอนบนอยู่ในเขตแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ตอนล่างเป็นคาบสมุทรมีฝั่งทะเลสองด้านคือ
ด้านทะเลอันดามันกับอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่กึ่งกลางอารยธรรมโบราณที่สำคัญ
คืออารยธรรมอินเดียและจีน ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโลกตั้งวันตก(อินเดีย
อาหรับ เปอเซีย ยุโรป) กับโลกตะงันออก(จีน
เกาหลี ญี่ปุ่น)
จึงส่งผลให้ดินแดนนี้เป็นชุมทางการค้าและมีบทบาทเป็นพ่อค้าคนกลางในสมัยโบราณ
2.
ลักษณะภูมิประเทศ
แบ่งเป็นภาคต่างๆดังนี้
ภาคเหนือ
เป็นทิวเขาสลับที่ราบหุบเขาที่มีลำน้ำไหลผ่าน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นที่ราบสูง
ภาคกลาง
และตะวันตก เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ภาคใต้
เป็นทิวเขามีที่ราบชายฝั่งทะเลทั้งสองด้านเป็นคาบสมุทร
ลักษณะภูมิประเทศที่มีกลุ่มชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานกันมาก
ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบหุบเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน
ที่ราบชายฝั่งทะเลใกล้แหล่งน้ำจืด เพราะเหมาะแก่การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
และได้อาศัยแหล่งน้ำสำหรับการประมงและใช้เป็นเส้นทางคมนาคม
3.
ลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม 2 ชนิด ได้แก่
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดมาจกมหาสมุทรอินเดีย
ตั้งแต่ราวกลางเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนกันยายนทำให้มีฝนตกเป็นประจำทุกปี
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาจากประเทศมองโกเลียและจีน
ตั้งแต่ราวกลางเดือนตุลาคม-กลางกุมภาพันธ์ นำความหนาวเย็นและแห้งแล้งเข้ามา
ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ ส่งผลให้การเพาะปลูกได้ผลดี นอกจากนี้ ลมมรสุมทั้งสองชนิดนี้ ยังมีอิทธิพลต่อการเดินเรือที่ดินแดนไทย
โดยเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้า
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพาพ่อค้าจากทางอินเดียเข้ามาและพาพ่อค้าจีนกลับไป
เมื่อถึงหน้าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็จะส่งผลในการตรงข้ามคือลมมรสุมจะพาพ่อค้าอินเดียกลับไป
และพาพ่อค้าจีนเข้ามา
4.
ทรัพยากรธรรมชาติ
Comments
Post a Comment