Posts

Showing posts from 2014

ม.3(กลางภาคข้อเขียน) พันธุกรรม

พันธุรรม      คือ สิ่งที่ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่ง ไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ความแปรผันทางพันธุกรรม      แบบต่อเนื่อง เกิดจากพันธุกรรม      แบบไม่ต่อเนื่อง เกิดจากสิ่งแวดล้อม DNA =Deoxyribo Nucleic Acid ฟีโนไทป์( phenotype ) คือ ลักษณะที่ปรากฎให้เห็นภายนอก เช่น สีผม สีตา สีผิว จีโนไทป์( genotype ) คือ ลักษณะภายใน เช่น พันธุ์แท้ พาหะ พันธุ์ทาง พันธุ์แท้( homozygous ) คือ ลักษณะยีนเหมือนกัน เช่น ii (ด้อยกับด้อย) II (เด่นกับเด่น) พันธุ์ทาง( heterozygous ) คือ ลักษณะยีนต่างกัน เช่น Ii (เด่นกับด้อย) tT (ด้อยกับเด่น)

ม.3 (กลางภาคข้อเขียน) การพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

การวางแผนและจัดเวลาออกกำลังกาย      ทำให้สมองปลอดโปร่ง มีน้ำใจนักกีฬา จิตใจแจ่มใส สุขภาพดี 1. การเตรียมตนเอง      การสร้างพลังแก่ตนเอง คือ การหากิจกรรมที่ทำให้การออกกำำลังกายเป็นกิจกรรมที่ตนเองสนใจ ชื่นชอบ และสามารถนำมาสร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองได้      การประเมินตนเอง คือ การสำรวจความพร้อมของร่างกายและสมรรถนะต่างๆของตนเองว่าเหมาะสมกับกิจกรรมหรือไม่ ควรให้เหมาะสมกับเพศและวัย 2. การเตรียมกิจกรรม      กำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์(ในการออกกำลังกายว่า เพื่ออะไร)      วิเคราะห์และศึกษากิจกรรม(ศึกษาข้อมูลของกิจกรรมที่จะทำ)      การเขียนแผนการดำเนินการ(วางแผนการปฏิบัติกิจกรรม)      การดำเนินการตามแผน(ฝึกฝน เลือกตามความถนัด ปฏิบัติอย่างเต็มที่)      การประเมินผล(ถึงการพัฒนาและความก้าวหน้า)      ติดตามผลและปรับปรุงแก้ไข(ปรับปรุงจุดบกพร่อง) 1.3 การเตรียมการป้องกัน    ...

ม.3 วิชาสนุกกับอิเล็กทรอนิกส์(ว23201)

อิเล็กทรอนิกส์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรต่างๆ สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์( electronic signal )      ค่าของกระแสไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าที่ไหลในวงจรนั้นๆ แบ่งเป็น 2 ประเภท 1.       สัญญาณอนาล็อก( analog signal ) เป็นสัญญาณต่อเนื่อง ถูกรบกวนให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิทยุ A.M. F.M. 2.      สัญญาณดิจิตอล( digital signal ) เป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่อง ถูกรบกวนได้ยาก เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ นาฬิกา อุปกรณ์พื้นฐานในวงจรไฟฟ้า    วงจรไฟฟ้า คือ การนำ แหล่งจ่ายไฟฟ้า จ่ายแรงกันและกระแสไฟฟ้าให้กับ โหลด โดยผ่าน ลวดตัวนำ ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงจะต่อจากขั้วบวกไปยังขั้วลบ และใช้ สวิตซ์ เป็นตัวเปิดปิดกระแสไฟฟ้า หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป ฟิวส์ ก็จะตัดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในทันที เรียกว่า ฟิวส์ขาด 1.       แหล่งจ่ายไฟฟ้า (ใช้จ่ายไฟ) เช่น แบตเตอรี่ ถ่ายไฟฉาย ไดนาโม เจเนอร์เรเตอร์ 2.      ลวดตัวนำ (ตัวนำไฟฟ้า) ส่วนใหญ่ใช้อลูมิเนียม 3.    ...

ม.3 (ปลายภาค ข้อเขียน) จิตรกรรมสากล VS จิตรกรรมไทย

งานจิตรกรรมไทย      มีลักษณะแบนๆ มีเพียง 2 มิติ จะเน้นความงามของเส้นและสีเป็นส่วนใหญ่      แสดงความแตกต่างของบุคคลด้วยสี      ไม่ค่อยคำนึงถึงความสมดุลหรือทฤษฎีอื่นๆ ยึดอุดมคติเหนือความจริง      เป็นจิตรกรรมแบบ ตานกมอง หรือ Bird’s Eye View        เป็นจิตรกรรมแบบเล่าเรื่องเป็นส่วนใหญ่ งานจิตรกรรมสากล      มีจุดเด่นประมาณ 3-4 จุด      มีประธานเพียง 1 จุด  ส่วนอีก 2-3 จุด เป็นส่วนประกอบ      มีเอกภาพ ความสมดุล จุดเด่น ความกลมกลืน ความขัดแย้ง      มีการใช้แสงเงาเพื่อความเหมือนจริง

ม.3 (ข้อสอบปลายภาคข้อเขียน) อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อวัยรุ่น

หนังสือพิมพ์      รายงานข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆให้กาวัยรุ่น โดยเมื่อมีข่าวสื่อไปทางบวก ก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นซึ่งมีพฤติกรรมเลียนแบบอยู่แล้ว เกิดความรู้สึกต้องการที่จะเป็นเช่นนั้นบ้าง นิตยสารและวารสาร      ให้ข้อมูลข่าวสารเชิงลึก ซึ่งนิตยสารและวารสารที่ดี จะต้องสร้างระบบความคิดที่มีประสิทธิภาพ และสร้างทัศนคติทางสังคมในเชิงบวกให้แก่วัยรุ่น หนังสือเล่ม      วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ ภ้าได้อ่านหนังสือดีมีข้อมูลความรู้ และความคิดที่น่าจดจำ ก็จะช่วยสร้างคุณธรรมและจินตนาการที่ดีให้แก่วัยรุ่นได้ สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ      ถ้าเป็นเฉพาะกิจในการรณรงค์อะไรต่างๆ ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่วัยรุ่นได้

ม.3 การเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัย

วัยทารก วัยทารก หมายถึง ช่วงเวลาของชีวิต นับตั้งแต่แรกคลอด ไปจนกระทั่งถึงอายุ 2 ปี ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปตามพัฒนาการ ด้านร่างกาย      ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ เป็นแบบแผนที่แน่นอน ประมาณ 6-8 เดือน เริ่มมีฟันซี่แรกขึ้น ด้านจิตใจและอารมณ์      จะค่อยๆพัฒนาขึ้นตามอายุ อารมณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ อารมณ์โกรธ รองลงมาด้วยอารมณ์กลัวจากการไม่เข้าใจสถานการณ์ต่างๆรอบตัว ด้านสังคม        เริ่มมีความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว มีพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบตัว ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ 2-3 เดือนแรก สามารถสบตาและส่งเสียงได้ ด้านสติปัญญา        จะแสดงออกทางการเลื่อนไหว ทางภาษา การปรับตัว และมีการโต้ตอบกับบุคคลอื่น วัยก่อนเรียน       วัยก่อนเรียน คือ วัยที่ต่อมาจากช่วงวัยทารก มีอายุอยู่ระหว่าง 3-6 ปี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ -        วัยก่อนเรียนระยะแรก หรือวัยเตา...

ม.3 ประโยคซับซ้อน

ประโยคซับซ้อน ๑.ประโยคคความเดียวที่ซับซ้อน      ๑.๑ ประโยคคความเดียวที่ซับซ้อนในภาคประธาน      แม่ของเพื่อนของน้องฉัน ซื้อบ้านหลังใหม่        ๑.๒ ประโยคความเดียวที่ซํบซ้อนในภาคแสดง      นักเรียน วิ่งเล่นลื่นล้มก้นกระแทกที่บันได ๒.ประโยคความรวมที่ซับซ้อน ๒.๑ ประโยคความรวมที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนย่อยเป็นประโยคความรวมด้วยกัน      พ่อ และ แม่ปลูกต้นไม้ แต่ ลูก และ หลานดูโทรทัศน์      ๒.๒ ประโยคความรวมที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนย่อยเป็นประโยคความซ้อน      วนิดา ซึ่ง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับรางวัลครูดีเด่น ส่วน ประจักษ์ ซึ่ง เป็นผู้จัดการธนาคารได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น      ๒.๓ ประโยคความรวมที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนย่อยเป็นประโยคซับซ้อน จ๋าจะไปทะเล แต่ พ่อจะไปเชียงใหม่ และ แม่ก็จะไปด้วย ๓.ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน      ๓.๑ ประโยคหลักหรือประโยคย่อยที่มีคำหรือกลุ่มคำมาขยาย    ...

ม.3 การย่อความ

การย่อความ      คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อวความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าใดจึงจะเหมาะสม เพราะบางเรื่องมีพลความมาก ก็ย่อลงไปมาก แต่บางเรื่องมีใจความมาก ก็จะย่อได้ ๑ ใน ๒ , ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔ ของเรื่องเดิม ตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร หลักในการย่อความ ๑.อ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจ ๑ เที่ยว หรือมากกว่า ๑ เที่ยวก็ได้ ๒.จับประเด็นสำคัญทีละย่อหน้า เพราะใน ๑ ย่อหน้า จะมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว ๓.นำใจความแต่ละย่อหน้า มาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง ๔.ต้องมีรูปแบบคำนำย่อความที่ถูกต้อง ๕.เปลี่ยนสรรพนามที่เป็นบุรุษที่ ๑,๒ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ๖.ไม่ควรใช้อักษรย่อ ๗.ถ้ามีคำราชาศัพท์ ให้คงราชาศัพท์นั้นไว้ ๘.ไม่ควรใช้เครื่องหมายต่างๆในข้อความที่ย่อ ๙.เขียนเนื้อเรื่องย่อ ให้เหลือเพียงย่อหน้าเดียว ความยาวประมาณ ๑ ใน ๓ ของเนื้อเรื่องเดิม รูปแบบการย่อความ(ที่สำคัญ) ๑.แบบของบทความ สารคดี ตำนาน นิทาน นิยาย เรื่อ...

ม.3 บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ภาษาไทย(สอบกลางภาค) บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ประพันธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ใช้พระนามแฝง ว่า พระขรรค์เพชร (พระนามแฝงของท่านมีมากมาย เช่น บทละครพูด ทรงใช้ ศรีอยุธยา,พระขรรค์เพชร บันเทิงคดี ทรงใช้ พันแหลม,รามจิตติ,นายแก้ว นายขวัญ) ลักษณะคำประพันธ์ เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีลักษณะยาว ๑ องก์(ตอน) ระยะเวลาในการแต่ง ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ คุณค่าของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ๑.ข้อคิดคติธรรม      ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๒.ด้านความรู้      มาตราเงินไทยในสมัยนั้นมีหน่วยเป็นชั่งและบาท      รูปแบบของการเขียนบทละครพูด      การใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง      เทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการถ่ายภาพ ๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม      สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน การรดน้ำอวยพรและการให้ของรับไหว้      ค่านิยมให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย      สังคมไทยยกย่องคนที่ทำมาหากินอย่างส...