ม.3 การเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัย

วัยทารก
วัยทารก หมายถึง ช่วงเวลาของชีวิต นับตั้งแต่แรกคลอด ไปจนกระทั่งถึงอายุ 2 ปี ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปตามพัฒนาการ

ด้านร่างกาย
     ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ เป็นแบบแผนที่แน่นอน ประมาณ 6-8 เดือน เริ่มมีฟันซี่แรกขึ้น
ด้านจิตใจและอารมณ์
     จะค่อยๆพัฒนาขึ้นตามอายุ อารมณ์ที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ อารมณ์โกรธ รองลงมาด้วยอารมณ์กลัวจากการไม่เข้าใจสถานการณ์ต่างๆรอบตัว
ด้านสังคม
       เริ่มมีความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว มีพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบตัว ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ 2-3 เดือนแรก สามารถสบตาและส่งเสียงได้
ด้านสติปัญญา
       จะแสดงออกทางการเลื่อนไหว ทางภาษา การปรับตัว และมีการโต้ตอบกับบุคคลอื่น

วัยก่อนเรียน
      วัยก่อนเรียน คือ วัยที่ต่อมาจากช่วงวัยทารก มีอายุอยู่ระหว่าง 3-6 ปี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
-       วัยก่อนเรียนระยะแรก หรือวัยเตาะแตะ(อายุ 3 ปี)
-       วัยก่อเรียนระยะที่สอง หรือวัยอนุบาล(อายุ 4-6 ปี)
การเจริญเติบโตของเด็กช่วงนี้จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้คุ้นเคยไปกับสิ่งแวดล้อมตลอดจนการเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
ด้านร่างกาย
      การเจริญเติบโตทางด้านร่างกายค่อนข้างช้า แต่จะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ พบว่า รูปร่างและสัดส่วนของเด็กวัยนี้จะแตกต่างจากวัยทารกค่อนข้างมาก ซึ่งช่วงปลายของวัยนี้ ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุด และจะเริ่มมีฟันแท้ขึ้น ประมาณ 1-2 ซี่
ด้านจิตใจและอารมณ์
     มีอารมณ์ที่ค่อนข้างรุนแรงเมื่อไม่ได้ดั่งใจ จะกลัวความมืดและจะมีการแสดงอารมณ์อิจฉาริษยา โดยเฉพาะในกรณีมีน้อง
ด้านสังคม
     ยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สนใจใคร มักทำอะไรตามความพอใจของตนเอง พยายามเข้าสังคมโดยจะเริ่มรู้จักเข้ากลุ่มเพื่อเล่นกับเพื่อน
ด้านสติปัญญา
     เป็นไปตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เซลล์สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

วัยเรียน
     วัยเรียน คือ วัยที่มีอายุตั้งแต่ 7-12 ปี โดยนับตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จนจบชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการเริ่มต้นในการใช้ชีวิตใหม่เป็นอย่างมาก
ด้านร่างกาย
     มีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่ช้าลง มีการใช้กล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดีขึ้น เริ่มมีฟันแท้ขึ้น ซึ่งฟันแท้จะขึ้นครบเมื่อมีอายุประมาณ 18-30 ปี
ด้านจิตใจและอารมณ์
     เริ่มมีอารมณ์ต่างๆเกิดขึ้น ทั้งอารมณ์ในแง่ดี และอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ
ด้านสังคม
     ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับครู เพื่อน และบรรยากาศในโรงเรียน เริ่มคบเพื่อนร่วมวัย มีความผูกพันกับเพื่อนที่โรงเรียน รวมทั้งครูมากขึ้น ทำให้เด็กเริ่มห่างเหินจากผู้ใหญ่ในบ้าน
ด้านสติปัญญา

     เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องเข้าโรงเรียน โดยเด็กจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน แล้วจึงค่อยหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ไกลตัวออกไป

Comments

Popular posts from this blog

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา อดีต-ปัจจุบัน

แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย ภูมิปัญญาไทย

ม.3 (กลางภาคข้อเขียน) การพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ