ม.3 การย่อความ
การย่อความ
คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
อย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อวความสั้น
กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม
การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าใดจึงจะเหมาะสม เพราะบางเรื่องมีพลความมาก ก็ย่อลงไปมาก
แต่บางเรื่องมีใจความมาก ก็จะย่อได้ ๑ ใน ๒ , ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔ ของเรื่องเดิม
ตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร
หลักในการย่อความ
๑.อ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจ ๑ เที่ยว หรือมากกว่า ๑
เที่ยวก็ได้
๒.จับประเด็นสำคัญทีละย่อหน้า เพราะใน ๑ ย่อหน้า จะมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว
๓.นำใจความแต่ละย่อหน้า มาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง
๔.ต้องมีรูปแบบคำนำย่อความที่ถูกต้อง
๕.เปลี่ยนสรรพนามที่เป็นบุรุษที่ ๑,๒
เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓
๖.ไม่ควรใช้อักษรย่อ
๗.ถ้ามีคำราชาศัพท์ ให้คงราชาศัพท์นั้นไว้
๘.ไม่ควรใช้เครื่องหมายต่างๆในข้อความที่ย่อ
๙.เขียนเนื้อเรื่องย่อ ให้เหลือเพียงย่อหน้าเดียว
ความยาวประมาณ ๑ ใน ๓ ของเนื้อเรื่องเดิม
รูปแบบการย่อความ(ที่สำคัญ)
๑.แบบของบทความ สารคดี ตำนาน นิทาน นิยาย เรื่องสั้น
ย่อ(บทความ
สารคดี ตำนาน นิทาน นิยาย เรื่องสั้น)เรื่อง.........................ของ.....(ผู้แต่ง)จาก.........(แหล่งที่มา)................ความว่า
๒.แบบของข่าว
ย่อข่าวเรื่อง........จาก...............ลงวันที่
...................ความว่า
๓.แบบพระบรมราโชวาท เทศนา
ย่อ(พระบรมราโชวาท
เทศนา)ใน............พระราชทานแก่.......................ใน...............ที่..................ณ
วันที่ ...................ความว่า
ตัวอย่าง
ย่อบทละครพูดเรื่อง
เห็นแก่ลูก ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จาก
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัยมศึกษาปีที่ ๓ หน้า ๒๔-๒๗
ความว่า
นายล้ำมาพบพระยาภักดีนฤนาถที่บ้าน
แต่พระยาภักดียังไม่กลับนายล้ำจึงนั่งรออยู่หน้าบ้าน อ้ายคำ คนรับใช้ของพระยาภักดี
ไม่ไว้ใจ จึงนั่งเฝ้าอยู่ด้วย เมื่อพระยาภักดีกลับมาพบนายล้ำ
ทั้งคู่เข้าไปคุยกันในห้องหนังสือ นายล้ำบอกว่าตนต้องการมาอยู่กับแม่ลออ
ลูกสาวแท้ๆที่เขาทอดทิ้งไปนาน แต่พระยาภักดีไม่ยอม
เพราะไม่อยากให้แม่ลออถูกนินทาว่าเป็นลูกคนขี้คุก ทั้งคู่ทะเลาะกัน
พระยาภักดีเกือบเอาแส้ม้าฟาดนายล้ำ แต่แม่ลออกลับมาพบทั้งคู่กิ่น
เธอเล่าให้นายล้ำฟังถึงพ่อแท้ๆที่เธอไม่เคยรู้จัก แต่เธอเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่าเขาเป็นคนดี
ทำห้นายล้ำเปลี่ยนความคิด เขาตัดสินใจเดินออกจากชีวิตของแม่ลออไป
เพื่อเธอจะได้เก็บภาพพ่อที่แสนดีของเธอตลอดไป ก่อนจากไป
เขาได้ทิ้งแหวนของเขาไว้เป็นของรับหมั้นให้แม่ลออในวันแต่งงาน
.............................................................................
*คนที่เห็นแก่ลูกที่สุดคือ
นายล้ำ
ประโยชน์ของการย่อความ
๑ ช่วยให้การอ่านการฟังได้ผลดียิ่งขึ้น
ช่วยให้เข้าใจและจดจำข้อความที่สำคัญที่ได้อ่านหรือฟังได้สะดวกรวดเร็ว
2.ช่วยในการจดบันทึก เมื่อได้ฟังหรือศึกษาวิชาใด
รู้จักจดข้อความที่สำคัญลงในสมุดได้ทันเวลาและได้เรื่องราว
3.ได้ฝึกหัดในการใช้ภาษาในการเขียนให้กระชับ
รู้จักแยกแยะใจความสำคัญที่เป็นแก่นของเรื่อง
คือจะกล่าวแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น
4.ช่วยในการตอบแบบฝึกหัด/ข้อสอบ
5.ช่วยเตือนความจำ
นักเรียนอ่านหนังสือและนำบทเรียนมาย่อเป็นตอนๆ
6.ประหยัดเงินในการเขียนโทรเลข ถ้ารู้จักย่อความ
หน้า24-27หรือถึง37คะ
ReplyDelete