Posts

Showing posts from July, 2014

ม.3 ประโยคซับซ้อน

ประโยคซับซ้อน ๑.ประโยคคความเดียวที่ซับซ้อน      ๑.๑ ประโยคคความเดียวที่ซับซ้อนในภาคประธาน      แม่ของเพื่อนของน้องฉัน ซื้อบ้านหลังใหม่        ๑.๒ ประโยคความเดียวที่ซํบซ้อนในภาคแสดง      นักเรียน วิ่งเล่นลื่นล้มก้นกระแทกที่บันได ๒.ประโยคความรวมที่ซับซ้อน ๒.๑ ประโยคความรวมที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนย่อยเป็นประโยคความรวมด้วยกัน      พ่อ และ แม่ปลูกต้นไม้ แต่ ลูก และ หลานดูโทรทัศน์      ๒.๒ ประโยคความรวมที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนย่อยเป็นประโยคความซ้อน      วนิดา ซึ่ง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับรางวัลครูดีเด่น ส่วน ประจักษ์ ซึ่ง เป็นผู้จัดการธนาคารได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น      ๒.๓ ประโยคความรวมที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนย่อยเป็นประโยคซับซ้อน จ๋าจะไปทะเล แต่ พ่อจะไปเชียงใหม่ และ แม่ก็จะไปด้วย ๓.ประโยคความซ้อนที่ซับซ้อน      ๓.๑ ประโยคหลักหรือประโยคย่อยที่มีคำหรือกลุ่มคำมาขยาย    ...

ม.3 การย่อความ

การย่อความ      คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างถูกต้องครบบริบูรณ์ตามตัวเรื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ เป็นข้อวความสั้น กะทัดรัด โดยไม่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม การย่อนี้ไม่มีขอบเขตว่าย่อลงไปเท่าใดจึงจะเหมาะสม เพราะบางเรื่องมีพลความมาก ก็ย่อลงไปมาก แต่บางเรื่องมีใจความมาก ก็จะย่อได้ ๑ ใน ๒ , ๑ ใน ๓ หรือ ๑ ใน ๔ ของเรื่องเดิม ตามแต่ผู้ย่อจะเห็นสมควร หลักในการย่อความ ๑.อ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจ ๑ เที่ยว หรือมากกว่า ๑ เที่ยวก็ได้ ๒.จับประเด็นสำคัญทีละย่อหน้า เพราะใน ๑ ย่อหน้า จะมีประเด็นหลักเพียงประเด็นเดียว ๓.นำใจความแต่ละย่อหน้า มาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเอง ๔.ต้องมีรูปแบบคำนำย่อความที่ถูกต้อง ๕.เปลี่ยนสรรพนามที่เป็นบุรุษที่ ๑,๒ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ ๖.ไม่ควรใช้อักษรย่อ ๗.ถ้ามีคำราชาศัพท์ ให้คงราชาศัพท์นั้นไว้ ๘.ไม่ควรใช้เครื่องหมายต่างๆในข้อความที่ย่อ ๙.เขียนเนื้อเรื่องย่อ ให้เหลือเพียงย่อหน้าเดียว ความยาวประมาณ ๑ ใน ๓ ของเนื้อเรื่องเดิม รูปแบบการย่อความ(ที่สำคัญ) ๑.แบบของบทความ สารคดี ตำนาน นิทาน นิยาย เรื่อ...

ม.3 บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ภาษาไทย(สอบกลางภาค) บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ประพันธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ใช้พระนามแฝง ว่า พระขรรค์เพชร (พระนามแฝงของท่านมีมากมาย เช่น บทละครพูด ทรงใช้ ศรีอยุธยา,พระขรรค์เพชร บันเทิงคดี ทรงใช้ พันแหลม,รามจิตติ,นายแก้ว นายขวัญ) ลักษณะคำประพันธ์ เป็นบทละครพูดขนาดสั้น มีลักษณะยาว ๑ องก์(ตอน) ระยะเวลาในการแต่ง ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘ คุณค่าของบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก ๑.ข้อคิดคติธรรม      ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๒.ด้านความรู้      มาตราเงินไทยในสมัยนั้นมีหน่วยเป็นชั่งและบาท      รูปแบบของการเขียนบทละครพูด      การใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่อง      เทคโนโลยีในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการถ่ายภาพ ๓.ด้านสังคมและวัฒนธรรม      สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมการแต่งงาน การรดน้ำอวยพรและการให้ของรับไหว้      ค่านิยมให้ลูกสาวแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย      สังคมไทยยกย่องคนที่ทำมาหากินอย่างส...